Sony แจ้งให้ทราบว่า PS5 ยังคงขาดแคลนอย่างต่อเนื่องผลมาจากชิปขาดแคลนทั่วโลก
จากปัญหาการขาดแคลนชิปคอมพิวเตอร์ทั่วโลกทำให้การผลิต PS5 ลดน้อยลงในขณะที่ด้านฮาร์ดแวร์กำลังขาดทุนแต่สิ่งนี้กลับทำให้ผลการดำเนินงานของ Sony ทำกำไรได้เพิ่มมากขึ้น
Sony แจ้งสถานะจำนวนสินค้าของ PlayStation 5 ว่า ‘สินค้าหมด’
ปัญหาสินค้าขาดสต็อกของ PlayStation 5 ยังคงมีอยู่ตามที่ Sony ได้แจ้งสถานะสินค้าไว้ทำให้มีลูกค้าจำนวนมากพลาดโอกาสที่จะได้เล่นเกมจากเครื่องเล่นรุ่นล่าสุดของบริษัท
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา Sony ได้ยกย่องให้ PS5 เป็นเครื่องเล่นวิดีโอเกมที่มียอดขายถึง 10 ล้านเครื่องเร็วที่สุดแต่ด้วยปัญหาการขาดแคลนฮาร์ดแวร์ทำให้ตอนนี้มียอดขายน้อยลงและน้อยกว่า PS4 หากเทียบกับในช่วงระยะเวลาเดียวกันตั้งแต่เปิดตัว
แม้ว่า Sony จะเจอปัญหาขาดทุนด้านฮาร์ดแวร์แต่ก็สามารถชดเชยรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการขายเกม ค่าสมัครสมาชิก และการขายอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ซึ่งหมายความว่าปัญหาการขาดแคลนฮาร์ดแวร์ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัททำกำไรเพิ่มมากขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์
สาเหตุของปัญหาคืออะไร ?
ปัญหาเบื้องต้นของการขาดแคลนฮาร์ดแวร์ ก็คือ การขาดแคลนของชิปคอมพิวเตอร์ทั่วโลก แต่ความขาดแคลนนี้กลับทำให้เกิดปัญหาระดับค้าปลีกที่รุนแรงขึ้นไปอีกเมื่อเกิดการสั่งซื้อครั้งละจำนวนมากของนักฉวยโอกาสที่นำขายต่อเพื่อเก็งกำไร
เนื่องจากตัวคอนโซลที่ถูกซื้อโดยนักเก็งกำไรจะไม่ถูกนำไปเปิดเล่นในทันทีซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ที่รุนแรงกว่าฮาร์ดแวร์ที่ลูกค้าได้จากผู้ผลิตโดยตรง
แต่อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถระบุผลกระทบที่แท้จริงจากรายงานทางการเงินของ Sony ได้เนื่องบริษัทไม่ได้แยกการขายซอฟต์แวร์เกมระหว่าง PS4 กับ PS5 ออกจากกัน
นักเก็งกำไรซื้อสินค้าตามจำนวนที่ได้รับการสั่งซื้อและนำไปขายต่อในราคาที่สูงขึ้นเพื่อเก็งกำไร
Sony ได้มีการจัดส่งสินค้าตัวคอนโซล 3.9 ล้านเครื่องในช่วงคริสต์มาสซึ่งหมายความว่าตัวคอนโซลมียอดขายรวมแล้วประมาณ 17.3 ล้านเครื่อง PS4 ขายได้ประมาณ 20.2 ล้านเครื่องหากเทียบกับในช่วงระยะเวลาเดียวกันตั้งแต่เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2013
เนื่องจากไม่มียอดขายจากเกมและอุปกรณ์เสริมทำให้ Sony ได้มีการปรับลดการคาดการณ์ยอดขายทั้งหมดในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ เนื่องจากคาดว่า PS5 ที่สามารถจัดส่งได้จะลดจำนวนลง
ตัวเลขผลการดำเนินการล่าสุดของ Sony ได้เปิดเผยออกมาหลังจากที่ได้มีการประกาศทำข้อตกลงมูลค่ากว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์ในการซื้อตัว Bungie ผู้พัฒนาชื่อดังที่อยู่เบื้องหลังเกมต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงเกม Destiny และเกม Halo
เมื่อสัปดาห์ก่อน Microsoft ก็ได้ทำข้อตกลงในการซื้อ Activision-Blizzard ในราคาเกือบ 70 พันล้านดอลลาร์หลังจากถูกเปิดเผยว่าเป็นผู้ผลิต Xbox เพื่อจัดการกับคู่แข่งที่อาจเกิดขึ้นได้
เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าข้อตกลงนี้อาจทำให้เห็นอนาคตของ Activision ที่จะก้าวข้ามคอนโซลของ PlayStation ไปได้
เกม Call Of Duty ได้รับความนิยมทั้งบน PlayStation และ Xbox
จะมีมาตรการแก้ไขจัดการกับปัญหาเก็งกำไรสินค้าหรือไม่ ?
ปีที่แล้วสำนักข่าว Sky News ได้รายงานว่ารัฐบาลถูกเรียกร้องให้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหานี้มากขึ้นเนื่องจากบางครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหาการซื้อของขวัญในช่วงคริสต์มาสเป็นครั้งที่สองที่ไม่สามารถซื้อเครื่องเล่นเกมนี้ได้ นอกจากเว้นเสียแต่ว่าพวกเขาจะยอมจ่ายในราคาที่ “สูงเกินจริง”
ทางสส. Douglas Chapman ได้เรียกร้องให้มีการแบนพฤติกรรมที่คล้ายกับการซื้อตั๋วอัตโนมัติของงานอีเว้นท์ต่าง ๆ และได้รับการสนับสนุนจากสส.ทั้งสภาสามัญชนสหราชอาณาจักร(the House of Commons)
คุณ Chapman เขียนจดหมายถึง Nadine Dorries รมว.ดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อและการกีฬา ขอให้รัฐบาลทบทวนการห้ามใช้บอทสั่งซื้อสินค้าแบบอัตโนมัติครั้งละจำนวนมากและนำมาขายต่อเพื่อเก็งกำไร
ในขณะนั้น โฆษกรัฐบาลได้กล่าวว่า พวกเขากำลังสอบถามกับสมาคมการค้าเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้บริโภคได้รับการปกป้องจากการซื้อสินค้าครั้งละจำนวนมากที่คล้ายกับการซื้อตั๋วอัตโนมัติของงานอีเว้นท์ต่าง ๆ อยู่หรือไม่